ยินดีต้อนรับสู่ Blogger การจัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยLearning Experiences Management in Early Childhood Education ของ นางสาวประภัสสร สีหบุตร ค่ะ

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกการเรียนครั้งที่7
Lesson 7

วัน จันทร์ ที่13 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge





นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า 
อย่าคิดว่าเรื่องของคนอื่นไม่สำคํญ จงรักกันและดูแลกัน เอาใจใส่กันและกันรักกันดั่งญาติมิตร


วิดีโอการสอนการPROJECT APPROACH
          โดยมีการเลือกหัวห้อนั้นจะต้อง สอดคล้องกับหลักสูตร ผู้ปกครอง ความสนใจของเด็กว่าเด็กสนใจจริงมั๊ย




การสอนแบบPROJECT APPROACH  จะตอบสนองต่อการเรียนรู้ทางปัญญาทั้ง8ด้าน  ดั้งนี้



ประโยชน์จากการสอนแบบPROJECT APPROACH
-เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
-ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
-เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
-เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
-เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ
-รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
-สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ




         
            อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสอน เทคนิคการสอน และสอนให้ดูเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยอาจารย์ได้นำของใช้ในการเรียนมา เป็นตัวอย่างในการเข้าสู่กิจกรรมของการสอน วันจันทร์และวันอังคาร
-ลักษณะวิธีการสอน มุ่งให้เด็กได้เรียนรู้และพํฒนาทักษะในทุกๆด้าน
-ใช้เทคนิคอะไรที่จะนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ 
-การใช้คำถามในการถามเด็กเพื่อให้เด็กรู้จักคิด
...สมองจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีสิ่งมากระตุ้นและการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดจากที่เด็กเห็น ตอบคำถามแบบที่ตาเห็น ซึ่งอยุ๋ในขั้นอนุรักษ์




ประเมินAssessment
ตนเอง My self
มีความพร้อมี่จะเรียน ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียน ไม่คุยกันขณะอาจารย์พูด 
ผู้สอน Instructor
มีเทคนิคการสอนที่ดี มีความพร้อมที่จะสอน มีความใจเย็นเป็นกันเองกับนักศึกษา ดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม

                                             

                                         





วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกการเรียนครั้งที่6
Lesson 6

วัน จันทร์ ที่6 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge 
วิดีโอการสอนการใช้ BBL

 เพลง ตบมือ ตบตัก ตบไหล



เพลง จับหัว จับหู จับไหล่



ประโยชน์จากกิจกรรม
            เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช่วยคลายเครียด ช่วยให้ร่างกายและสมองทำงานประสานสัมพันธ์กัน ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้สมอง ช่วยให้สมองแข็งแรง และทำงานสมดุลกันทั้งสองซีก รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมให้สมองเปิดรับการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดี และช่วยให้สมองตื่นตัว ในขณะที่ร่างกายผ่อนคลาย กิจกรรมบริหารสมองนี้ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

-สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

-สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยข้าว เกี่ยวกับลักษณะ วันอังคาร โดยมีเนีื้อหาของขั้นการสอนดังนี้

วัตถุประสงค์
1.เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอยู่กับที่และเคลื่อนที่ได้
2.เด็กคิดทำท่าทางตามจินตนาการได้
3.เด็กปฎิบัติตนเป็นผู้นำผู้ตามได้
4.เด็กปฎิบัติตามข้อตกลงได้

สาระที่ควรรู้
กิจกรรมพื้นฐาน
 การเคลื่อนไหวอยู่กับที่เช่นการหมุน ตบมือและการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่เช่นการเดินในแบบต่างๆ
กิจกิจกรรมปฏิสัมพันธ์เนื้อหา
-การปฏิบัติตนเป็นพูดนำผู้ตาม
-การปฏิบัติตนตามข้อตกลง 
กิจกรรมพักคล้ายกล้ามเนื้อ
-ยือหยุ่นส่วนต่างๆของร่างกาย

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การแสดงออกอย่างสนุกสนาน
ด้านสังคม
-การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การคิดและทำท่าทางตามจินตนาการ
-การเลียนแบบการกระทำ

กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมพื้นฐาน
-เด็กหาพื้นที่และบริเวณพื้นที่ของตัวเองโดยการกางแขนทั้งสองข้างออกหมุนไปรอบตัว
-เด็กเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และการเดินแบบต่างๆเช่นการเดินโดยใช้ปลายเท้าตามจังหวะ ช้า-เร็วหยุด
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อ
-ครูให้เด็กยืนเป็นวงกลม
-ครูเลือกเด็กหนึ่งคนออกมาเป็นผู้นำ
-ให้เด็กที่เป็นผู้นำทำท่าทางตามที่คุณครูบอกเช่น  ครูบอกให้ทำ ท่ารวงข้าวโดนลมพัดปลิวไปปลิวมาชาวนากำลังเกี่ยวข้าวเป็นต้น 
กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ
-ให้เด็กนั่งลงนวดแขนนวดขา

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
เครืองเคาะจังหวะ

การวัดและประเมินผล
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่และการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
-การคิดและทำท่าทางตามจินตนาการ
-การปฎิบัติตนเป็นผู้นำผู้ตาม

การบูรณาการ
-ด้านภาษา
-ด้านสุขศึกษา




ประเมินAssessment
ห้องเรียนPlace
สะอาดมีพื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม
ตนเองMyself
เข้าห้องเรียนสาย เรียนอย่างมีความสุขไม่น่าเบื่อ
เพื่อนClassmate
มีความกระตือรือร้น ตั้งใจทำงานอย่างมีความสุข
อาจารย์Instructor
เป็นที่ปรึกษาและสอนอย่างมีความสุขหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะแต่งกายเรียบร้อยเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ใส่ใจนักศึกษา 

                         


                                  



บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกการเรียนครั้งที่5
Lesson 5

วัน เสาร์ ที่ 4 เดือน เมษายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ของแต่ละกลุ่ม

                                                               กลุ่ม สัตว์น่ารัก
                                                               กลุ่ม ยานพาหนะ
                                                               กลุ่ม ผักสดสะอาด
                                                               กลุ่ม ข้าว
                                                               กลุ่ม ครอบครัว

                                                                  
  ตัวอย่างภาพในการทำกิจกรรม                   กลุ่ม ครอบครัว






ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
- กรณีเด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สอนไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรให้เวลาและโน้มน้าวให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตามสมัครใจ
- หลังจากเด็กได้ร่วมออกกำลังเคลื่อนไหวจังหวะต้องให้เด็กพักผ่อนโดยให้นอน เล่นบนพื้นห้อง นอนพัก หรือเล่นสมมติเป็นจังหวะช้าๆ เบาๆ สร้างความรู้สึกให้เด็กอยากพักผ่อน
- การจัดกิจกรรมควรจัดตามกำหนดตารางกิจกรรมประจำวัน และควรจัดให้เป็นที่น่าสนใจ เกิดความสนุกสนาน




ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนให้ความร่วมมือในการกิจกรรม  
ผู้สอน Instructor
มีเทคนิคการสอนที่ดีมีสื่อการสอนที่ดี ให้ตำแนะนำที่ดีนักศึกษาเข้าใจง่าย
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม



                                   


บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกการเรียนครั้งที่4
Lesson 4

วัน จันทร์ ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
หัวข้อทีจะนำมาจัดกิจกรรมในการสอนได้มาจาก
-สิ่งที่เด็กสนใจ
-สาระที่ควรเรียนรู้
-สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
-สิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก

การแตกมายแม๊ปปิ้ง
-เพื่อให้รู้ว่าเรื่องนี้มันมีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เลือกสาระที่มีพัฒนาการไปใช้กับเด็ก

การออกแบบการจัดการเรียนการสอน
-ก่อนที่จะมีหลักการต้องมีความเชื่อก่อน
-ความเชื่อใรเรื่องฺของพัฒนาการ(ดิวอิ้)
-การสร้างองค์ความรู้
         
หลักการ
-การออกแบบกิจกรรมผ่านกิจกรรมการเล่น 6 กิจกรรม
-ก่อนที่จะได้แนวคิดต้องเข้าใจหัวเรื่อวก่อน
-พอได้แนวคิดแล้วจะได้ประสบการณ์สำคัญต้องได้ทั้ง 4 ด้าน
-มาตรฐานคือ เกณฑ์ขั้นต่ำ

ปัญหาสิ่งที่อยากรู้

-ตั้งคำถาม/ตั้งสมมุติฐาน  เช่น ถ้าหยดสีลงไปแล้วไข่จะเปลี่ยนเป็นสี..

                                                        เคลื่อนไหวและจังหวะวันจันทร์






การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        การเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง

ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นให้เด็กได้กระจายกันอยู่ในห้องหรือบริเวรที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก
2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความคิดของเด็กเองผู้สอนไม่ควรชี้แนะ
3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้อง เคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล
4. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง
5. ควรสร้างกิจกรรมอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบาย และสนุกสนาน
6. ควรจัดให้มีการเล่นบ้างนานๆครั้ง เพื่อชวยให้เด็กสนใจมากขึ้น



สาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เพื่อแต่ล่ะกลุ่มจะได้เตรีมความพร้อมในการสอนสัปดาห์ต่อไป



ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ได้หลักการและเทคนิคในการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการฝึกสอนได้
เพื่อน Classmate
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอบ่างดี 
ผู้สอน Instructor
มีเทคนิคการสอนที่ดีเต็มที่กับการสอน มีความพร้อมที่จะสอน มีความใจเย็น
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม




                           

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกการเรียนครั้งที่3
Lesson 3

วัน จันทร์ ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
1.การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
2.การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3.การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
4.การบูรณาการการเรียนรู้
5.การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  โดยการ สังเกต สนทนา ผลงานของเด็ก
6.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก

สาระ คือ เนื้อหา กระบวนการ ทักษะ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.ประสบการณ์สำคัญ คือ ลงมือปฏิบัติ
2.สาระที่ควรรู้ คือ เนื้อหา

- คุณลักษณะตามวัย คือ พัฒนาการของเด็กนำมาเขียนแส้งสะท้อนว่าเด็กทำอะไรบ้าง
- โครงสร้างหลักสูตร
         การจัดชั้นเรียน

-สิ่งที่คิดอันดับแรกที่จะสอนเด็ก คือ ต้องได้เรื่องที่จะสอน หรือได้หน่วยที่จะนำมาสอนเด็ก


-แบ่งกลุ่มวางแผนการจัดประสบการณ์  กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ


หน่วยเรื่องข้าว



โดยมีการวางแผนดังนี้
วันจันทร์   การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
วันอังคาร  การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
วันพุธ       การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
วันพฤหัสบดี  การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์
วันศุกร์     การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายประกอบเพลง



ประเมินAssessment
ตนเอง My self
มีความพร้อมี่จะเรียน .ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนให้ความร่วมมือในการทำงาน ไม่คุยกันขณะอาจารย์พูด 
ผู้สอน Instructor
มีเทคนิคการสอนที่ดีมีสื่อการสอนที่ทันสมัย มีความพร้อมที่จะสอน มีความใจเย็นเป็นกันเองกับนักศึกษา ดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม






                                   




บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกการเรียนครั้งที่2
Lesson 2

วัน จันทร์ ที่23 เดือน มกราคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
พัฒนาการ 
              การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง4ด้านอย่างเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยมีช่วงอายุเป็นลำดับกำกับ
             กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น
พัฒนาการของเด็ก 
จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
            พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปํญญา    






การทำงานของสมอง
           ทำงานโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือกระทำสมองทำงานตลอดเวลา เพราะร่างกายและประสาทสัมผัสยังทำงานอยู่ตลอดเวลาการรู้พัฒนาการ เพื่อที่เราจะได้จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ และยังใช้เป็นเกณฑ์วัดและประเมินผล
           สมองทำงานคล้ายฟองนำ้ โดยจะซึมซับข้อมูลใหม่เข้าแล้วสมองทำการปรับโครงสร้างความคิดเกิดความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่


                                               การทำงานของสมอง


เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ของมนุษย์
          การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้มิใช่เกิดจากการสั่ง การสอนการถ่ายทอด เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสของมนุษย์โดยเน้น
- เนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์
- กระบวนการเรียนรู้ที่มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย 

....สมองของมนุษย์ทำงานตลอดเวลาแม้กระทั่งเวลาหลับ


ทำไมต้องทราบถึงพัฒนาการของเด็ก  เพราะครูต้องใช้พัฒนาการของเด็กเป็นตัวกำหนดในชการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพฒนาการหรือการเรียนรู้ของเด็ก



เทคนิคในการบอกให้เด็กเก็บของโดยการใช้เพลง


...เก็บ เก็บ เก็บ มาช่วยกันเก็บของที
เร็วคนดี มาเก็บเข้าที่เร็วไว...


เพลงอื่นๆ ที่ใช้ในการดก็บเด็ก


                      รอฉันรอเธออยู่แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด
                      เธอจะมาเธอจะมาเมื่อไหร่ (ซ้ำ)
                      หรือเธอไปไหนทำไมไม่มา
                      ฉันเป็นห่วง (ซ้ำ) ตัวเธอ
                      ให้ฉันเก้อชะเง้อคอยหา
                       นัดไว้ทำไมไม่มา (ซ้ำ)
                                         โอ่เธอจ๋าอย่าช้าเร็วหน่อย (ซ้ำ)
                        รีบหน่อย (ซ้ำ) เร่งหน่อย (ซ้ำ)



เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว        อย่าล้ำแนว เดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน         เดินตามเพื่อนไม่ทัน
ระวังจะเดินชนกัน       เข้าแถวพลันว่องไว


เพลงรถไฟ
ปู๊นกระฉึกปู๊นกระฉึกฉึกฉึก    
เด็ก ๆ นั่งอยู่บนรถไฟ ไม่ว่าจะไปทางไหน
บนรถไฟเด็กจะไป ..........     (สถานที่ที่ต้องการไป)


เพลงนั่งตัวให้ตรง
นั่งตัวให้ตรง นั่งตัวให้ตรง      ตรงไหมจ๊ะ ตรงไหมจ๊ะ
เราทุกคนไม่ลุกจากที่
เราทุกคคนไม่ลุกจากที่

เป็นเด็กดีเป็นเด็กดี



เพลงนั่งขัดสมาธิ
นั่งขัดสมาธิให้ดี        สองมือวางทับกันทันที
หลับตานั่งตัวตรงสิ     ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ


เพลงยืนตรง
สองมือเราชูตรง        แล้วเอาลงมาเสมอกับไหล่
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า เอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


เพลงล้างมือ
ล้างมือซะก่อน ก่อนจะทำอะไร
ล้างมือเข้าไว้  เราปลอดภัยสะอาด


เพลงฟังให้ดี
ฟังนะฟังให้ดี   ฉันมีเสียงให้เธอฟัง
ฟังนะฟังให้ดี   ฉันมีเสียงให้เธอฟัง
ทางซ้ายทางขวา       ข้างหน้าหรือว่าข้างหลัง
ข้างบนข้างล่าง         ทางไหนก็ช่วยบอกที
ลั่น ลั่น ลา ลั่น ลา ลั่น ลั่น ลา ลั่น ลา


เพลงกระซิบ
กระซิบ กระซิบ อย่าให้เสียงดัง         ควรระวังผู้อื่นหนวกหู
พวกเด็ก ๆ ต้องเกรงใจครู      คุณหนู ๆ อย่าทำเสียงดัง


เพลงลาก่อนของเล่น
ได้เวลา ฉันขอบอกลา ของเล่นที่รัก
เจ้าพักผ่อนกาย         ห่มผ้าให้แล้ว
เจ้านอนสบาย พรุ่งนี้จะมาเล่นใหม่


เพลงเก็บของเล่น
เก็บ เก็บ เก็บ  มาช่วยกันเก็บของเล่นที
เร็วคนดี         มาช่วยกันเก็บของเล่นกัน


เพลงดื่มนม
ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่ม  ดื่มนมกันเถอะ
ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ       ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ
ดื่มนมเยอะๆ   ร่างกายแข็งแรง


เพลงแปรงซิแปรงฟัน
แปรงซิแปรง แปรงฟัน ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่ แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดเมื่อหนูแปรงฟัน        



เพลงกินข้าวกัน
มากินข้าวกัน มากินข้าวกัน    กับดีๆ กับ ดีๆ
มีทั้งแกงและต้มยำ (x2)        อ้ำอ้ำ อร่อยดี



เพลงบ้าย บาย
วันนี้หมดเวลา บ้ายบายนะเธอ
คิดถึงเธอเสมอ          โบกมืออำลา
พบเธอด้วยรอยยิ้ม     พบกันวันหน้า
ยิ้มกันหน่อยซิจ๊ะ        โบกมือบ้ายบาย


เพลงก่อนฟังนิทาน
เด็กๆ จ๋า...ชวนกันมาฟังนิทาน
นิทานสนุกสนานฟังแล้วชื่นบานจิตใจ
สองมือวางนั่งตัวตรง คงความนิ่งเอาไว้
นั่งฟังอย่างอย่างตั้งใจแล้วจะได้
ใจความเรื่องเอย



ประเมินAssessment
ห้องเรียนPlace
สะอาดมีพื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม
ตนเองMyself
เข้าห้องเรียนสาย เรียนอย่างมีความสุขสนุกสนานกับการเรียน
เพื่อนClassmate
มีความกระตือรือร้น ตั้งใจทำงานอย่างมีความสุข
อาจารย์Instructor
มีการเตรียมความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคสอนในการสอน สอนเข้าใจ เอาใจใส่นักศึกษาทุกคนได้อย่างทั่วถึง