ยินดีต้อนรับสู่ Blogger การจัดประสบการณ์ทางการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยLearning Experiences Management in Early Childhood Education ของ นางสาวประภัสสร สีหบุตร ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกการเรียนครั้งที่4
Lesson 4

วัน จันทร์ ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
หัวข้อทีจะนำมาจัดกิจกรรมในการสอนได้มาจาก
-สิ่งที่เด็กสนใจ
-สาระที่ควรเรียนรู้
-สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
-สิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก

การแตกมายแม๊ปปิ้ง
-เพื่อให้รู้ว่าเรื่องนี้มันมีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เลือกสาระที่มีพัฒนาการไปใช้กับเด็ก

การออกแบบการจัดการเรียนการสอน
-ก่อนที่จะมีหลักการต้องมีความเชื่อก่อน
-ความเชื่อใรเรื่องฺของพัฒนาการ(ดิวอิ้)
-การสร้างองค์ความรู้
         
หลักการ
-การออกแบบกิจกรรมผ่านกิจกรรมการเล่น 6 กิจกรรม
-ก่อนที่จะได้แนวคิดต้องเข้าใจหัวเรื่อวก่อน
-พอได้แนวคิดแล้วจะได้ประสบการณ์สำคัญต้องได้ทั้ง 4 ด้าน
-มาตรฐานคือ เกณฑ์ขั้นต่ำ

ปัญหาสิ่งที่อยากรู้

-ตั้งคำถาม/ตั้งสมมุติฐาน  เช่น ถ้าหยดสีลงไปแล้วไข่จะเปลี่ยนเป็นสี..

                                                        เคลื่อนไหวและจังหวะวันจันทร์






การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        การเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง

ข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
1. ควรเริ่มกิจกรรมจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ และมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เช่นให้เด็กได้กระจายกันอยู่ในห้องหรือบริเวรที่ฝึก และให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของเด็ก
2. ควรให้เด็กได้แสดงออกด้วยตนเองอย่างอิสระ และเป็นไปตามความคิดของเด็กเองผู้สอนไม่ควรชี้แนะ
3. ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดหาวิธีเคลื่อนไหวทั้งที่ต้องเคลื่อนที่และไม่ต้อง เคลื่อนที่ เป็นรายบุคคล
4. ควรกำหนดจังหวะสัญญาณนัดหมายในการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดให้เด็กทราบเมื่อทำกิจกรรมทุกครั้ง
5. ควรสร้างกิจกรรมอย่างอิสระ ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เพลิดเพลิน และรู้สึกสบาย และสนุกสนาน
6. ควรจัดให้มีการเล่นบ้างนานๆครั้ง เพื่อชวยให้เด็กสนใจมากขึ้น



สาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เพื่อแต่ล่ะกลุ่มจะได้เตรีมความพร้อมในการสอนสัปดาห์ต่อไป



ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ได้หลักการและเทคนิคในการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการฝึกสอนได้
เพื่อน Classmate
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอบ่างดี 
ผู้สอน Instructor
มีเทคนิคการสอนที่ดีเต็มที่กับการสอน มีความพร้อมที่จะสอน มีความใจเย็น
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม




                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น